หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

6. สมมติฐาน (Hypothesis)



พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545: 208) กล่าวว่า คำว่า สมมติฐานมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Hypothesis ซึ่งได้มาจากภาษาและมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก hypo แปลว่า ข้อเสนอหรือข้อเสนอแนะ และศัพท์คำว่า hypotithenai แปลว่า ใส่ไว้ข้างล่าง  สมมติฐาน คือ ข้อความที่สมมติว่าเป็นจริงในประเด็นที่ต้องการพิสูจน์ ตรวจสอบหรือเป็นความคิดที่ก้าวหน้าในการอธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ทั้งหลาย

 (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) ได้รวบรวมและกล่าวถึง)ได้รวบรวมและกล่าวถึง การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable)สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถูประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

(http://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp4_1.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวถึง สมมติฐานหมายถึง ความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรืออาจกล่าวได้ว่า สมมติฐานเป็นสิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคาดว่าจะเกิดขึ้น โดยที่ความเชื่อหรือสิ่งที่คาดนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้
สรุป

การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables)และตัวแปรตาม (dependent variables) งานวิจัยบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีสมมติฐาน สมมติฐานที่ดีจะทำให้ทราบว่า ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง ได้ข้อมูลจากใคร ใช้วิธีใดในการเก็บเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้มากที่สุด สมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จะบอกให้ ทราบถึงระดับการวัดและการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าจะวิเคราะห์ในลักษณะเปรียบเทียบ,ลักษณะความสัมพันธ์ หรือประมาณค่า parameter บางตัวของประชากร ทราบว่าจะใช้สถิติอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด เช่น ระดับรายได้ของนักท่องเที่ยว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยว สมมติฐานทาหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

อ้างอิง

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งประเทศไทย, 2545

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 มกราคมคม 2556

http://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp4_1.htm. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 มกราคมคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น