หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

4.คำถามของการวิจัย (Research Question (s)


           สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย(2550 :  149-150) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน

           อาทิวรรณ โชติพฤกษ์.(2553 : 7) กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร

           พจน์ สะเพียรชัย. (2516:17). กล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้

สรุป

คำถามของการวิจัย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจนและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ข้อความของประโยดคำถามต้องชัดเจน ต้องการค้นหาคำตอบ ตรงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบ และช่วยให้ผู้วิจัยประเมินได้ว่าจำทำงานวิจัยไปในทิศทางใด เพื่อที่จะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้น


อ้างอิง

สุวิมล ว่องวานิช.  (2550).  แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :

    โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิวรรณ โชติพฤกษ์.  (2553).  ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร :
     โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจน์ สะเพียรชัย.  (2516).  หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
     วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น