หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

22. ภาคผนวก (Appendix)


ผศ.เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

 

(http://www.thaijustice.com/manual_law/viewmanual.asp?bname=book1&fname=10.htm)ได้รวบรวมและกล่าวถึง ภาคผนวกหมายถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการโครงการ หรือเครื่องมือที่ใช้ใน

การรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ สูตร

ต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนภาคผนวกนี้อาจจะไม่มีก็

ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโครงการแต่ละเรื่อง ซึ่งในส่วนของภาคผนวกนี้อาจจะประกอบด้วย

ภาคผนวกย่อย ๆ หลายส่วนได้ การเริ่มภาคผนวกย่อยทุกครั้งให้ขึ้นหน้าใหม่ เช่น ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค เป็นต้น

 

(http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=617251ee33a0cd55) ได้รวบรวมและกล่าวถึง ภาคผนวก คือรายการที่ผู้ทำรายงานต้องการเสนอเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องรายการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และช่วยให้เข้าใจเนื้อเรื่องดีขึ้น เช่น ตัวเลขสถิติ แบบสอบถามตาราง ลำดับ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

 
สรุป

ภาคผนวก หมายถึง ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อ ให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาเสนอในส่วน เนื้อหาหลักแต่นำมาใส่เอาไว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

อ้างอิง

เรืองอุไร ศรีนิลทา. (2535). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  


เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 มกราคมคม 2556
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=617251ee33a0cd55. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 มกราคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น