หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

1.ชื่อเรื่อง (The Title)



             รวีวรรณ ชินะตระกูล  (2540 : 13กล่าว่วา หัวข้อเรื่องที่ดีควรเป็นหัวข้อที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะดำเนินการได้ การเลือกหัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์   (2534 : 32)   กล่าวว่าต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม

เก่ง ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวว่า ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร
สรุป

ชื่อเรื่อง คือ ชื่อเรื่องควรมีความกะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์ เป็นเรื่องที่วิจัยได้ เป็นหัวข้อที่มีประโยชน์และอยู่ในความสามารถของผู้วิจัยที่จะดำเนินการได้ การเลือกหัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับปัญหาที่จะศึกษา

 อ้างอิง

รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2540) . โครงร่างวิจัย. วิจัยทางการศึกษา. หน้า 40. กรุงเทพ ฯ :
      โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์
.

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.  (2537).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จัดพิมพ์.
เก่ง ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)ออนไลน์ ) สืบค้นเมื่อ   วันที่ 6 มกราคมคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น