หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( Review of Related Litatures)


 
    เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547:16). กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย

เก่ง ภูวนัย. ( http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ เพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น

ธวัชชัย วรพงศธร. (2538:18). กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรม/เอกสารที่เกี่ยวข้อง ควรแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของโครงการวิจัย ความสอดคล้องของวิธีการ/ตัวแปรที่เลือกศึกษา ความรับรู้ของผู้วิจัย ทั้งนี้ ข้อความที่ใช้ควรกระชับ/ไม่เยิ่นเย้อมากเกินไป เพื่อให้กรอบแนวความคิดปรากฏอย่างชัดเจน ครอบคลุมประเด็นคำถาม กรอบแนวคิดทางทฤษฏี ตัวแปรผลงานวิจัยที่ผ่านมาและควรเขียนให้เชื่อมโยงกันและอ้างอิงให้ถูกต้องตามระบบการอ้างอิง


สรุป

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วยเพื่อทำให้เข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น

อ้างอิง

ธวัชชัย วรพงศธร. (2538). หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

     โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ:
     โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
.

เก่ง ภูวนัย. ( http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) สืบค้นเมื่อ วันที่ 6 มกราคมคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น