หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

2.ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)



      ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2534:12) กล่าวว่า ในส่วนนี้ผู้เขียนโครงร่างการวิจัย ควรเขียนอธิบายถึงประวัติความเป็นมาที่ทำให้ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยกล่าวเน้นถึงประเด็นสำคัญ ๆที่จำเป็นที่มีส่วนเกี่ยวพันกับปัญหาที่จะทำการวิจัยโดยตรง ทั้งนี้ควรจะให้ข้อมูลอ้างอิงตามความเหมาะสมด้วย

       เก่ง ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวว่า เริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

       รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2540:18) กล่าว่วา ผู้วิจัยจะต้องกำหนดประเด็นปัญหา และความสำคัญของปัญหาที่ต้องการศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดปัญหาที่ต้องศึกษาในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดปัญหาไว้อย่างชัดเจนช่วยในการวางแผนงานวิจัยได้อย่างดี ในการเขียนควรกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่วัตถุระสงค์ที่ทำการวิจัย ดังนั้นการเขียนไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยืดยาวจนเกินไป

สรุป

ความสำคัญและที่มาของปัญหา คือ การกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานและที่มาของปัญหาย และวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร เพื่อนำไปสู่วัตถุระสงค์ที่ทำการวิจัย ดังนั้นการเขียนไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยืดยาวจนเกินไป

อ้างอิง

ไพฑูรย์ สินลารัตน์(2534). การวิจัยทางการศึกษา.การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับ

       นักวิจัย. หน้า 380. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวีวรรณ ชินะตระกูล (2540) . โครงร่างวิจัย. วิจัยทางการศึกษา. หน้า 41. กรุงเทพ ฯ :
       โรงพิมพ์ห้างหุ้น ส่วนจำกัด ภาพพิมพ์
.
เก่ง ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)ออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคมคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น