หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมการศึกษา


                กอบกุล สรรพกิจจำนง (2543 : 5) ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไว้ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอน เทคนิคการสอน การบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นคิด / สร้างขึ้นใหม่ หรือดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติอยู่ตามปกติที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้หรือยังไม่ได้รับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนโดยสรุปตามปกติแล้ว นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้รู้ความหมายของคำยอดฮิตที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือ นวัตกรรมการศึกษาแล้วทุกๆคนคงหายสงสัยพร้อมที่จะรับมือกับการศึกษายุคใหม่โดยที่ไม่มีทางตกยุคของการศึกษาเลย

อาทิบุญเกื้อ ควรหาเวช (2543 : 14 - 15) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิด หรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ถวัลย์ มาศจรัส (2548 : 48) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึงความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย

                สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

อ้างอิง
URL: http://katawut77.blogspot.com/2007/10/blog-post_08.html เวลา 19.57 น.วันที่ 24 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2555
อาทิบุญเกื้อ ควรหาเวช. เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู . มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
URL: http://dontong52.blogspot.com เวลา 19.13 น. วันที่ 24 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น